ใบงานที่ 4 คลังข้อสอบ
การสอบ 9 วิชาสามัญ
9 วิชาสามัญ กำแพงที่รอให้ปีนข้ามเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย
9 วิชาสามัญคือการสอบตรงเข้าสู่มหาวิทยาลัยโดยใช้ข้อสอบกลาง แต่ยื่นคะแนนตรงกับมหาวิทยาลัย ใครยังไม่รู้จักระบบการสอบแอดมิชชันส์และการรับตรง ให้อ่านที่นี่นะครับ พี่โอเล่เขียนเอาไว้ในเว็ป admission.in.th ละเอียดมากๆครับ
ปีก่อนหน้านี้เจ้าระบบสอบตรงโดยใช้ข้อสอบกลางอันนี้เคยมีชื่อว่า “7 วิชาสามัญ” มาก่อนครับ โดยปีนี้ก็ได้อัพเกรดตัวเอง เพิ่มวิชาเข้ามาสองวิชาคือ คณิตศาสตร์ของสายศิลป์ และวิทยาศาสตร์พื้นฐานของสายศิลป์ครับ ทำให้ 9 วิชาสามัญมีจำนวนวิชาที่ใช้สอบดังนี้
1.วิชาภาษาไทย
2.วิชาสังคมศึกษา
3.วิชาภาษาอังกฤษ
4.วิชาคณิตศาสตร์ 1 (สายวิทย์และศิลป์คำนวณ)
5.วิชาฟิสิกส์
6.วิชาเคมี
7.วิชาชีววิทยา
8.วิชาคณิตศาสตร์ 2 (สายศิลป์ภาษา)
9.วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (สายศิลป์ภาษา)
2.วิชาสังคมศึกษา
3.วิชาภาษาอังกฤษ
4.วิชาคณิตศาสตร์ 1 (สายวิทย์และศิลป์คำนวณ)
5.วิชาฟิสิกส์
6.วิชาเคมี
7.วิชาชีววิทยา
8.วิชาคณิตศาสตร์ 2 (สายศิลป์ภาษา)
9.วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (สายศิลป์ภาษา)
ต้องสอบทั้ง 9 วิชาเลยเหรอ?
ไม่จำเป็นครับ ที่มันชื่อ “9 วิชาสามัญ” ก็เพราะว่ามันมีวิชาให้เลือกสอบทั้งหมด 9 วิชา ไม่ใช่ว่าต้องสอบทั้ง 9 วิชานะครับ ส่วนเราจะต้องสอบวิชาอะไรบ้างก็ให้ตรวจสอบกับทางคณะ/มหาวิทยาลัยที่เราจะยื่นคะแนน ว่าเขาต้องการคะแนนวิชาไหนบ้าง เท่านั้นเองครับ
ตัวอย่างเช่น
1. หมอกอยากสอบตรงเข้าคณะนิเทศน์ มหาวิทยาลัย A หมอกก็เข้าไปค้นข้อมูลในเว็ปของคณะ พบว่าทางคณะรับนักศึกษาใหม่ด้วยวิธีรับตรง 9 วิชาสามัญ มีวิชาที่ต้องสอบดังนี้: ภาษาไทย, สังคม, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์2, วิทยาศาสตร์พื้นฐาน รวมทั้งสิ้น 5 วิชา หมอกจึงไปสมัครสอบ 5 วิชานี้ และนำคะแนนสอบที่ได้ไปยื่นที่คณะนิเทศน์ มหาวิทยาลัย A
2. ขวัญอยากสอบตรงเข้าคณะทันตะ มหาวิทยาลัย B ขวัญก็เข้าไปค้นข้อมูลในเว็ปของคณะ พบว่าทางคณะรับนักศึกษาใหม่ด้วยวิธีรับตรง 9 วิชาสามัญ มีวิชาที่ต้องสอบดังนี้: ภาษาไทย, สังคม, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์1,ฟิสิกส์,เคมี,ชีวะ รวมทั้งสิ้น 7 วิชา ขวัญจึงไปสมัครสอบ 7 วิชานี้ และนำคะแนนสอบที่ได้ไปยื่นที่คณะทันตะ มหาวิทยาลัย B
3. วิน ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองต้องการคณะอะไร อยากเรียนหลายคณะ บัญชี สถาปัตย์ วิศวะ อักษร ฯลฯ วินไปเช็คกับเว็ปทุกคณะเจอว่าตัวเองต้องสอบทั้ง 9 วิชาเลย วินก็สมัครสอบไป 9 วิชา
**กรณีของหมอก ขวัญ และวินเป็นเพียงตัวอย่างนะครับ ใครสนใจคณะไหนก็ต้องไปเช็คกับทางคณะนั้นเองว่าต้องใช้วิชาอะไรบ้าง
แล้วมันต่างจากแอดมิชชันส์ตรงไหน?
ตอบได้ตรงๆเลยว่าภาพรวมมันเหมือนกันมาก เรียกได้ว่ามองผ่านๆนี่ยังกะฝาแฝดคลานตามกันมาเลย แต่ถ้าจ้องดูดีๆก็จะพบว่าต่างกันตรงรายละเอียดปลีกย่อยหลายๆอย่าง
ส่วนที่เหมือน
- ใช้ข้อสอบรวม สอบทีเดียว
- ออกข้อสอบโดย สทศ.
ส่วนที่แตกต่างมีดังนี้
หัวข้อ | แอดมิชชันส์ | 9 วิชาสามัญ |
ข้อสอบ O-Net | ใช้คำนวณคะแนนด้วย | ไม่ใช้คำนวณคะแนน |
เกรดเฉลี่ย GPA | นำมาคิดคะแนนด้วย ทำให้เด็กจากโรงเรียนที่แข่งขันสูงเสียเปรียบ | ไม่นำมาคิดคะแนน แต่จะกำหนดเกณฑ์เกรดเฉลี่ยขั้นต่ำเอาไว้แทน ถ้าเกรดสูงกว่าเกณฑ์ก็สามารถยื่นคะแนนได้ |
สัดส่วนคะแนนของแต่ละวิชา | เท่ากันหมด | สัดส่วนคะแนนแต่ละวิชาไม่เท่ากัน เช่นคณะวิศวะอาจจะให้สัดส่วนในวิชาคณิตสูงกว่าวิชาอื่นๆ |
ความยากของข้อสอบ | ยากกว่ามาก ทำให้คะแนนสอบของนักเรียนทั่วประเทศไม่ค่อยกระจาย ไม่เป็นที่ชื่นชอบของเด็กเรียน แต่เด็กที่เน้นเดาข้อสอบจะชอบกว่ามากเนื่องจากมีลุ้นฟลุ๊คเดาถูก | ง่ายกว่า คะแนนกระจายกว่า เป็นที่ชื่นชอบของเด็กเรียนมากกว่า |
วิชาฟิสิกส์ เคมี ชีวะ | แอดมิชชันส์รวมวิชา ฟิสิกส์ เคมี และชีวะ เข้าเป็นวิชาเดียวกันคือ PAT2 เลือกแยกสอบไม่ได้ต้องสอบรวมกันหมด มีปัญหากับคณะสถาปัตย์บางที่ที่ไม่ต้องการให้สอบเคมี | เลือกสอบได้ อิสระกว่า |
มหาลัยที่ใช้ 9 วิชาสามัญในการสอบรับตรง
การสอบ GAT และ PAT
การสอบ GAT และ PAT
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้กำหนดองค์ประกอบและค่าน้ำหนักในการคัดเลือกเข้าศึกษาในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยระบบกลาง (Admissions) ปีการศึกษา 2553 ประกอบด้วย
1. GPAX 20%
2. O-NET 30%
3. GAT 10-50%
4. PAT 0-40%
รวม 100 %
ความถนัดทั่วไป (GAT : General Aptitude Test) คือ การวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ แยกได้ 2 ส่วน คือ
1. ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้โจทย์ปัญหา 50 %
2. ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ 50 %
ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT :Professional and Academic Aptitude Test) คือ ความรู้ที่เป็นพื้นฐานที่จะเรียนต่อในวิชาชีพนั้น ๆ กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆให้ประสบความสำเร็จ มี 7 ประเภท คือ
1. PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
2. PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
3. PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ 4. PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
5. PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
6. PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
7. PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ
2. PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
3. PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ 4. PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
5. PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
6. PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
7. PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ
GAT เชื่อมโยง
GAT ภาษาอังกฤษ
PAT 1 คณิตศาสตร์
PAT 2 วิทยาศาสตร์
PAT 3 วิศวกรรมศาสตร์
PAT 4 สถาปัตยกรรมศาสตร์
PAT 5 ความถนัดครู
PAT 6 ศิลปกรรมศาสตร์
PAT 7.3 ความถนัดภาษาญี่ปุ่น
การสอบ O-NET และ A-NET
ADMISSION หรือที่ภาษาไทยเรียกกันว่าแอดมิชชั่น คือระบบการคัดเลือกบุคคลที่อยากจะเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งถูกนำมาใช้จริงครั้งแรกในปี ๒๕๔๘ แทนการสอบเอนทรานซ์ในระบบเดิม ซึ่งในระบบใหม่นี้คะแนนของผู้ที่จะถูกคัดเลือกเข้าสู่สถาบันอุดมศึกษาจะไม่ได้มาจากการสอบเพียงอย่างเดียวทั้งหมดเท่านั้น แต่ยังมีคะแนนบางส่วนจากเกรดเฉลี่ยของที่โรงเรียนมาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาเข้าศึกษาต่อด้วย
การสอบ O – NET (Ordinary National Educational Test)
O – NET คือ แบบสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน เป็นการวัดผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับในช่วงชั้นที่ 4 จัดสอบ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่
1 ภาษาไทย
2 คณิตศาสตร์
3 วิทยาศาสตร์
4 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
5 ภาษาค่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
1 ภาษาไทย
2 คณิตศาสตร์
3 วิทยาศาสตร์
4 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
5 ภาษาค่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
ลักษณะข้อสอบและการประเมินผล O – NETประกอบด้วย
1. แบบทดสอบจะมีทั้งปรนัย และอัตนัย ในอัตราส่วนระหว่าง 80% – 90% : 10% – 20%ข้อสอบแบบปรนัยจะเป็นข้อสอบแบบ 4 ตัวเลือก สำหรับข้อสอบอัตนัยจะเป็นข้อสอบแบบเขียนคำตอบสั้นๆ (Short Answer)
2. เวลาในการทำข้อสอบวิชาละ 2 ชั่วโมง
3. ข้อสอบแต่ละข้อ คะแนนอาจจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความยากง่ายของข้อสอบ
4. ข้อสอบครอบคลุมสาระและทักษะสำคัญของ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้
การสอบเป็นบริการของรัฐให้แก่นักเรียนทุกคนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
2. เวลาในการทำข้อสอบวิชาละ 2 ชั่วโมง
3. ข้อสอบแต่ละข้อ คะแนนอาจจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความยากง่ายของข้อสอบ
4. ข้อสอบครอบคลุมสาระและทักษะสำคัญของ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้
การสอบเป็นบริการของรัฐให้แก่นักเรียนทุกคนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
การสอบ A – NET (Advanced National Educational Test)
A – NET คือ แบบสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง เป็นการวัดความรู้และ ความคิดวิเคราะห์ ซึ่งจะเป็นการวัดความรู้เชิง สังเคราะห์ โดยเน้นทักษะการคิดมากกว่า O-NETประกอบด้วย
1 ภาษาไทย 2
2 คณิตศาสตร์ 2
3 วิทยาศาสตร์ 2
4 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 2
5 ภาษาอังกฤษ 2
2 คณิตศาสตร์ 2
3 วิทยาศาสตร์ 2
4 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 2
5 ภาษาอังกฤษ 2
ลักษณะข้อสอบและการประเมินผล A – NET ประกอบด้วย
1. แบบทดสอบจะมีทั้งปรนัย และอัตนัย ในอัตราส่วนระหว่าง 60% – 80% : 40% – 20%ข้อสอบแบบปรนัยจะเป็นข้อสอบแบบ 4 ตัวเลือก สำหรับข้อสอบอัตนัยจะเป็นข้อสอบแบบเขียนคำตอบสั้นๆ (Short Answer)
2. เวลาในการทำข้อสอบวิชาละ 2 ชั่วโมง ยกเว้นวิชาวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยเนื้อหาด้าน เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา อยู่ในฉบับเดียวกัน ที่ใช้เวลาในการสอบ 3 ชั่วโมง และจะแสดงผลการทดสอบทั้งรวมและแยก
3.ข้อสอบแต่ละข้อ คะแนนอาจจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความยากง่ายของข้อสอบ
2. เวลาในการทำข้อสอบวิชาละ 2 ชั่วโมง ยกเว้นวิชาวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยเนื้อหาด้าน เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา อยู่ในฉบับเดียวกัน ที่ใช้เวลาในการสอบ 3 ชั่วโมง และจะแสดงผลการทดสอบทั้งรวมและแยก
3.ข้อสอบแต่ละข้อ คะแนนอาจจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความยากง่ายของข้อสอบ
GPAX
หรือถ้าจะเรียกให้เข้าใจง่ายๆก็คือเกรดเฉลี่ยสะสมของน้องๆนั่นแหละ ซึ่งไม่ว่าจะเข้าคณะไหนก็ตาม GPAX จะมีผลต่อคะแนนรวมถึง 10% เพราะฉะนั้นก็ตั้งใจเรียนในห้องเรียนให้มากๆ(ในทุกวิชา)ด้วยล่ะ เพราะถ้าไม่ตั้งใจเรียนในห้อง นอกจากจะเกรดตกแล้ว คะแนน GPAX 10% ก็จะลดลงไปด้วย
วิธีการคิดคะแนน
1. เมื่อมีการตรวจกระดาษคำตอบมีวิธีการวิเคราะห์ข้อสอบทุกข้อเพื่อหาคุณภาพขอข้อสอบ ถ้าข้อสอบข้อใดไม่มีคุณภาพตามเกณฑ์ ไม่สามารถวัดหรือจำแนกได้ ข้อสอบข้อนั้นจะไม่นำมาคิดคะแนน ดังนั้นคะแนนที่ได้จะเป็นคะแนนสอบที่ได้มาจากข้อสอบที่มีคุณภาพทุกข้อ
2 คะแนนผลการสอบจะแปลงคะแนนเป็นคะแนนมาตรฐานรายวิชา
2 คะแนนผลการสอบจะแปลงคะแนนเป็นคะแนนมาตรฐานรายวิชา
ระยะเวลาและจำนวนครั้งที่จัดสอบ
O-NET จะจัดสอบเพียงครั้งเดียวเมื่อผู้เรียนสำเร็จการศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเรียบร้อยแล้ว โดยจะจัดสอบในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ต่อเนื่องกับเดือนมีนาคม ของทุกปี
A-NET ในระยะแรกอาจจัดสอบเพียงครั้งเดียว โดยจัดสอบ ต่อจากการสอบ O-NETแต่ในอนาคตอาจจัดสอบได้มากกว่า 1 ครั้ง